ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของ น.ส.สิริมาศ ตุ้ยกุลนา ในหมวด ชีววิทยา

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยา

ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (อังกฤษCharles Robert Darwin FRS12 ก.พ. ค.ศ. 1809 – 19 เม.ย. ค.ศ. 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์

 ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950[3][4] การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการควบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต
ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติตั้งแต่วัยเด็กทำให้ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระเลย แต่กลับหันไปช่วยการตรวจสอบสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ช่วยกระตุ้นความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากขึ้น[7] การเดินทางออกไปยังท้องทะเลเป็นเวลา 5 ปีกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา ผลงานตีพิมพ์เรื่อง การผจญภัยกับบีเกิล (The Voyage of the Beagle) ทำให้เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเขียน[8]
ด้วยความพิศวงกับการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในภูมิภาคที่แตกต่างกัน กับฟอสซิลที่เขาสะสมมาระหว่างการเดินทาง ดาร์วินเริ่มการศึกษาอย่างละเอียด และในปี ค.ศ. 1838 จึงได้สรุปเป็นทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติ[9] แม้ว่าเขาจะอภิปรายแนวคิดของตนกับนักธรรมชาติวิทยาหลายคน แต่ก็ยังต้องการเวลาเพื่อการวิจัยเพิ่มเติม โดยให้ความสำคัญกับงานด้านธรณีวิทยา[10] เขาเขียนทฤษฎีของตนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1858 เมื่อ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ส่งบทความชุดหนึ่งที่อธิบายแนวคิดเดียวกันนี้มาให้เขา และทำให้เกิดการรวมงานตีพิมพ์ของทฤษฎีทั้งสองนี้เข้าด้วยกันในทันที[11] งานของดาร์วินทำให้เกิดวิวัฒนาการสืบเนื่องต่อมา โดยดัดแปลงมาเป็นคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลยิ่งต่อแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีววิทยาในธรรมชาติ[3] ในปี ค.ศ. 1871, เขาได้ตรวจดู วิวัฒนาการของมนุษย์ และ การคัดเลือกทางเพศใน The Descent of Man, and Selection in Relation to Sex ตามด้วย The Expression of the Emotions in Man and Animals. งานวิจัยเกี่ยวกับพืชได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดหลายเล่ม ในเล่มสุดท้ายเขาได้ตรวจสอบ ไส้เดือน และอิทธิพลที่มันมีต่อดิน[12]
ดาร์วินได้รับยกย่องในฐานะนักวิทยาศาสตร์โดยมีการจัดพิธีศพอย่างเป็นทางการในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ และฝังร่างของเขาไว้เคียงข้างกับจอห์น เฮอร์เชล และไอแซก นิวตัน[13] เขาได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ[14][15]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น